ต้นโพทะเล
- ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thespesia populnca (L.) Soland. EX Correa
- ชื่อสามัญ : Mallow tree, Portia Tree, Cork Tree, Rosewood of Seychelles, Tulip Tree
- วงศ์ : MALVACEAE (The Mallow Family)
- ชื่ออื่น ๆ : บากู (มาลายู, นราธิวาส, ปัตตานี), บ่อน้ำ, ปอมัดไทร, ปอกระหมัดไพร,โพธิ์ทะเล (ไทย)
- ลักษณะทั่วไป : เป็นพรรณไม้พุ่มยืนต้น จะแตกกิ่งก้านสาขาโยกหยักไปหยักมา มีลำต้นเป็นสีเทาอ่อน ๆ และเปลือกจะเรียบเกลี้ยง มีลักษณะของต้นคล้ายกับต้นโพ ลำต้นจะสูงประมาณ 10 - 15 เมตร ใบ ลักษณะของใบจะคล้ายกับใบโพด้วย ใบจะแตกออกเป็นพุ่มหนาแน่น ออกใบเรียงสลับกันไปตามข้อต้น ใบจะแข็ง ตรงปลายใบจะไม่มีติ่งแหลมยาวอย่างใบโพ ใบจะมีสีเขียวเป็นมัน ขนาดของใบนั้นจะยาวประมาณ 3 - 5.5 นิ้ว ดอก มีสีเหลือง ลักษณะของดอกจะคล้ายกับดอกฝ้าย แต่ดอกจะไม่บานอ้าเต็มที่ จะบานกว้างประมาณ 3 นิ้ว วงในดอกจะเป็นสีม่วงคล้ำ ดอกจะมีอยู่ 5 กลีบ เกสรที่อยู่ในดอกนั้นจะโผล่ออกมาคล้ายกับดอกชบา เนื้อไม้ สีน้ำตาลอมแดงคล้ำ มีริ้วสีอ่อนและแก่กว่าสีพื้นสลับ เสี้ยนเป็นคลื่นบ้างเล็กน้อยเนื้อละเอียดพอประมาณ เหนียวมากแข็งทนทาน เลื่อยไสกบตกแต่งง่าย ขัดชักเงาได้ดี น้ำหนักเนื้อไม้ต่อ 1 ลูกบาศก์ฟุต ประมาณ 48 - 53 ปอนด์แหล่งที่เกิดหรือแหล่งที่พบขึ้นตามป่าชายทะเลทั่วไป พบบริเวณใกล้ป่าชายเลน
- ประโยชน์ : ผลและใบตำให้ละเอียดใช้พอกแก้หิดได้ เปลือกต้มกับน้ำแล้วนำไปล้างทำความ สะอาดแผลเรื้อรังได้ รากอ่อนใช้รับประทานเป็นยาบำรุง
แหล่งที่มาของข้อมูล : วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. พจนานุกรมไม้ดอกไม้ประดับในเมืองไทย (เล่มที่ 2). 2530 หน้า 613 กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮาส์ 2530 กฤษเดช สุภาพไพบูรณ์และจิตต์ คงแสงไทย. พรรณไม้สมุนไพรในป่าชายเลน. รายงานการสัมมนาระบบนิเวศวิทยาป่าชายเลน ครั้งที่ 4 จังหวัดสุราษฎร์ธานี 7 - 11 กรกฎาคม. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2525. ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ ตรี กกกำแหง เรื่อง ไม้ที่มีประโยชน์ของประเทศไทย.หน้า 89 - 90. 2516
|